Profile
สำนักบริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประวัติความเป็นมา
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(University
Academic Service Center : UNISERV CMU)
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2532
โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้มีการนำทรัพยากรด้านกำลังคนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ คณาจารย์
นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในทุกสาขาของแต่ละคณะ สถาบัน
รวมทั้งเทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ
ที่มีอยู่มาใช้ให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์
โดยสำนักบริการวิชาการมีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในการสนับสนุน ส่งเสริมและประสานงานการบริการวิชาการ ระหว่าง
นักวิชาการและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถใช้ทรัพยากรต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในการปฏิบัติภารกิจบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ผลักดันและ
ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในกิจกรรมบริการวิชาการ กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน2549
สำนักบริการวิชาการได้หลอมรวมองค์กร
กับสถานบริการวิชาการนานาชาติ (InternationalCenter) ตามมติสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่
7/2549 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2549
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาในทุกด้านและการบริหารงาน
ของสำนักบริการวิชาการมีคณะกรรมการอำนวยการ
ประจำสำนักบริการวิชาการเป็นผู้กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารงาน
ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักบริการวิชาการให้สอดคล้องกับนโยบายเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ เป็นผู้นำองค์กรบริหารจัดการให้สำนักบริการวิชาการ
ดำเนินกิจการให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2551
ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2551
ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และสภามหาวิทยาลัยได้มี
ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรื่องการแบ่งหน่วยงานในส่วนงานวิชาการ และส่วนงานอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551
มีการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกเป็นส่วนงานวิชาการ
ประกอบด้วยคณะและวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนแบบประสาทปริญญา
และให้ส่วนงานอื่นมีสำนักบริการวิชาการซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับ คณะ
มีคณะกรรมการอำนวยการประจำสำนักบริการวิชาการ
เป็นผู้กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารตามภารกิจของสำนักบริการวิชาการ
ให้สอดคล้องกับนโยบายเป้าหมายและทิศทางของมหาวิทยาลัยและ
มีผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการป็นผู้นำองค์กร ร่วมกับคณะกรรมการบริหารประจำสำนักฯ
ในการบริหารจัดการให้สำนักบริการวิชาการดำเนินกิจการให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
UNISERV : Exclusive Knowledge Solution Gateway
2. ดำเนินการสนับสนุนพันธกิจการบริการวิชาการด้านฝึกอบรมและศึกษาดูงานของมหาวิทยาลัย
3. หารายได้ที่พึ่งพาตนเองได้และจัดสรรให้มหาวิทยาลัย
4. ศูนย์พัฒนาสมรรถนะบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย