1.ติดตามและตรวจสอบสถานะทางการเงิน และควบคุมการรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงรับทราบสม่ำเสมอ
2.สรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเพิ่มยอดรายได้ให้กับองค์กร
3.ประเมินพนักงานอย่างเป็นธรรม นำเสนอผลตอบแทนในรูปของโบนัสและการขึ้นเงินเดือนที่จูงใจมากขึ้น
4.เน้นผลกำไรและลดค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม
5.เสนอแนวทางแก้ไขหนี้สินการสร้างตึกในลักษณะที่ท้าทาย เพื่อการชดใช้เงินยืมให้แก่มหาวิทยาลัย
6.เน้นสวัสดิการที่ทั่วถึง เพื่อสนับสนุนนโยบายการสร้างความสุขในที่ทำงาน
การบรรลุเป้าหมายให้อยู่เป็นรูปธรรม
ด้านการเงิน
1. การมอบหมายพนักงานรับผิดชอบด้านการเงินร่วมกัน
2. การซักซ้อม Risk Management ในเรื่องการเงิน
3. การตรวจสอบสถานะทางการเงินร่วมกันโดยผ่านคณะกรรมการบริหาร ก่อนการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ
4. การว่าจ้างผู้ตรวจสอบจากภายนอก External Auditor
ด้านผลิตภัณฑ์ใหม่
1. เน้นกลุ่มเป้าหมายใหม่ในแต่ละแผนก โดยเฉพาะ Niche Market
2. เน้นตลาดจีนในลักษณะ Mass Product
3. นำเสนอการอบรมระดับสูง เพื่อส่งต่อลูกค้าให้กับคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. มุ่งขยายฐานลูกค้าที่มีแต่เดิม โดยการประชาสัมพันธ์เพิ่ม
ด้านการประเมินพนักงาน
1. ใช้ระบบการขึ้นเงินเดือนในอัตราส่วน 6:1 เสนอโดยหัวหน้าแต่ละฝ่าย
2. ให้เศษของอัตราส่วนยังคงอยู่ในแต่ละฝ่าย
3. ประเมินผลงานจากสัญญาแบบปีต่อปี โดยคณะกรรมการ
4. มุ่งสร้างผลตอบแทนโบนัสที่เท่าเทียมกัน
ด้านผลกำไร
1. ตั้งเป้ารายรับที่มากกว่ารายจ่ายของแต่ละฝ่าย
2. เน้นการตอบแทนพนักงานในรูป P4P ( Pay For Performance )
3. ตั้งคณะกรรมการทำแผนธุรกิจที่ชัดเจน
4. ควบคุมรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ดูแลเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง
ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
1. เสนอการชดใช้เงินยืมในลักษณะที่ท้าทายและสามารถทำให้บรรลุผลภายในวาระการดำรงตำแหน่ง (ปีละ 10 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 4 ปี)
2. เร่งเพิ่มงบการใช้หนี้ในปีต่อไป ร้อยละ 20
3. รายงานการใช้หนี้คืนให้กับมหาวิทยาลัยรับทราบอย่างเป็นระบบ
4. ควบคุมและตรวจสอบการใช้เงินอย่างเคร่งครัด
ด้านสวัสดิการ
1. สร้างมุมสันทนาการ เพื่อให้เป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์
2. จัดทัศนศึกษาต่างจังหวัดเป็นปีละ 2 ครั้ง
3. ให้พนักงานเสนอรูปแบบกิจกรรมที่ต้องการ
4. มีรูปแบบการให้กู้ยืมเงินฉุกเฉิน รวมทั้งการประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติม